เมนู

7. โรคสูตร


ว่าด้วยโรค 2 อย่าง


[157] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โรค 2 อย่างนี้ โรค 2 อย่างเป็นไฉน
คือ โรคกาย 1 โรคใจ 1 ปรากฏอยู่ว่าสัตว์ทั้งหลายผู้ยืนยันว่าไม่มีโรค
ทางกายตลอดเวลา 1 ปีก็มี ยืนยันว่าไม่มีโรคทางกายตลอดเวลา 2 ปีก็มี
3 ปีก็มี 4 ปีก็มี 5 ปีก็มี 10 ปีก็มี 20 ปีก็มี 30 ปีก็มี 40 ปีก็มี 50 ปีก็มี
100 ปีก็มี ยิ่งกว่า 100 ปีก็มี แต่ว่าผู้ที่จะยืนยันว่าไม่มีโรคทางใจแม้เพียง
เวลาครู่เดียวนั้นหาได้ยากในโลก เว้นแต่พระขีณาสพ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โรคของบรรพชิต 4 อย่างนี้ โรคของบรรพชิต
4 อย่างเป็นไฉน คือ
1. ภิกษุเป็นผู้มักมาก มีความร้อนใจอยู่เสมอ ไม่สันโดษด้วยจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยทามมีตามได้
2. ภิกษุนั้นเมื่อเป็นผู้มักมาก มีความร้อนใจอยู่เสมอ ไม่สันโดษ
ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยตามมีตามได้แล้ว ย่อมตั้งความ
ปรารถนาลามก เพื่อจะได้ความยกย่องเพื่อจะได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ
3. ภิกษุนั้นวิ่งเต้นขวนขวายพยายาม เพื่อจะได้ความยกย่องเพื่อจะ
ได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ
4. ภิกษุนั้น เข้าสู่ตระกูลเพื่อให้เขานับถือ นั่งอยู่ (ในตระกูล) เพื่อ
ให้เขานับถือ กล่าวธรรม (ในตระกูล) เพื่อให้เขานับถือ กลั้นอุจจาระ
ปัสสาวะอยู่ (ในตระกูล) ก็เพื่อให้เขานับถือ
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล โรคของบรรพชิต 4 อย่าง.

เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจัก
ไม่เป็นผู้มักมาก มีความร้อนใจ ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยตามมีตามได้ จักไม่ตั้งความปรารถนาลามกเพื่อจะได้ความยกย่อง
เพื่อจะได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ จักไม่วิ่งเต้นขวนขวายพยายามเพื่อ
ให้ได้ความยกย่อง เพื่อให้ได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ จักเป็นผู้อดทน
ต่อ หนาว ร้อน หิว ระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ
สัตว์เสือกคลานทั้งหลาย ต่อถ้อยคำอันหยาบคายร้ายแรงต่าง ๆ เป็นผู้อดกลั้น
ต่อเวทนาที่เกิดในกาย อันเป็นทุกข์กล้าแข็งเผ็ดร้อนขมขึ้น ไม่เจริญใจพอจะ
ปล้นชีวิตเสียได้ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบโรคสูตรที่ 7

อรรถกถาโรคสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในโรคสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วิฆาตวา ได้แก่ ประกอบด้วยความร้อนใจคือทุกข์ มีความ
มักมากเป็นปัจจัย. บทว่า อสนฺตุฏโฐ ได้แก่ เป็นผู้ไม่สันโดษ ด้วยสันโดษ
3 ในปัจจัย 4. บทว่า อนวญฺญปฏิลาภาย ได้แก่ เพื่อได้ความยกย่อง
จากผู้อื่น. บทว่า ลาภสกฺการสิโลกปฏิลาภาย ได้แก่ เพื่อได้ลาภสักการะ
อันได้แก่ปัจจัย 4 ที่เขาจัดไว้เป็นอย่างดี และความสรรเสริญ อันได้แก่การ
กล่าวยกย่อง. บทว่า สงฺขาย กุลานิ อุปสงฺกมติ ได้แก่ เข้าไปสู่ตระกูล
เพื่อรู้ว่า ชนเหล่านี้รู้จักเราไหม. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาโรคสูตรที่ 7